ประกาศสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564 เพื่อให้การโฆษณาอาหารมีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีความชัดเจน และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมาตรา 40 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร อันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวง ให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร และมาตรา 41 ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ ภาพยนตร์ หรือทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น หรือด้วยวิธีการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนาเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงโฆษณาได้ อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา 40 มาตรา 41 และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงได้ออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์ การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ข้อ 2 ในประกาศฉบับนี้ “การโฆษณาอาหาร” หมายความถึง การกระทาด้วยวิธีการใด ๆ ให้ประชาชนเห็น หรือทราบข้อความเกี่ยวกับอาหาร ส่วนประกอบของอาหาร เพื่อประโยชน์ในทางการค้า “ข้อความ” หมายความรวมถึง ข้อความ ข้อความเสียง เสียง ภาพ รูปภาพ รอยประดิษฐ์ เครื่องหมายสัญลักษณ์ หรือการกระทาอื่นใดที่เข้าใจได้ในความหมาย ข้อ 3 การโฆษณาอาหารต้องไม่ใช้ข้อความในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บ ริโภค หรือข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ดังต่อไปนี้ (1) ข้อความที่ทาให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดในอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งความจริงไม่มี หรือมีแต่ไม่เท่าที่ทาให้เข้าใจตามที่โฆษณา (2) ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจลักษณะหรือวิธีการบริโภคอาหาร (3) ข้อความที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน (4) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทาผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนาไปสู่ความเสื่อมเสียในประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของชาติ (5) ข้อความที่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบที่จะนามาซึ่งอันตรายหรือความรุนแรง (6) ข้อความที่เป็นการแนะนา รับรองหรือยกย่องคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณ ของอาหารโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือผู้ที่อ้างตนหรือแสดงตนหรือทาให้เข้าใจ ว่าเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข หน้า ๑๔ เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๗๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔ (7) ข้อความที่เป็นการเปรียบเทียบหรือทับถมผลิตภัณฑ์ของผู้อื่น ข้อ 4 การโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารต้องไม่มีลักษณะที่เป็นเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ซึ่งอาจเข้าข่ายตามมาตรา 40 ดังนี้ (1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง (2) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่าสามารถบาบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค ความเจ็บป่วย หรืออาการของโรค (3) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย หน้าที่การทางานของอวัยวะ หรือระบบการทางานของร่างกาย (4) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่าบารุงกาม บารุงเพศ หรือเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ (5) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่าเพื่อบารุงผิวพรรณหรือเพื่อความสวยงาม (6) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการลดน้าหนักหรือลดความอ้วน เว้นแต่กรณี อาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 121 (พ.ศ. 2532) เรื่อง อาหารสาหรับผู้ที่ต้องการ ควบคุมน้าหนัก ที่ได้รับอนุญาตจากสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (7) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการกระชับสัดส่วน ดักจับไขมัน หรือข้อความอื่นใด ในทานองเดียวกัน (8) การโฆษณาที่มีการใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ ที่ยังไม่ผ่านการประเมิน การกล่าวอ้างทางสุขภาพจากสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทั้งนี้ ตัวอย่างการโฆษณาในลักษณะข้างต้น แสดงไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 5 การโฆษณาในลักษณะดังต่อไปนี้ สามารถกระทาได้โดยไม่ต้องนามาให้พิจารณา อนุญาตก่อน (1) การให้ข้อมูลทางวิชาการที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และไม่มี ความเชื่อมโยงทาให้เข้าใจว่าเป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารใด ๆ แต่ทั้งนี้ การให้ข้อมูลทางวิชาการดังกล่าวต้องมีการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีหลักฐานอ้างอิง ที่เชื่อถือได้ เช่น แสดงทั้งข้อดี – ข้อเสีย ข้อควรระวัง เป็นต้น (2) การโฆษณาในลักษณะการเสนอภาพลักษณ์ของบริษัทหรือกิจการ (Corporate Image) (3) การโฆษณา เฉพาะที่เป็นลักษณะการโฆษณาที่เป็นการให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาหาร อาจใช้ข้อความตามที่ระบุไว้ในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อความใดข้อความหนึ่ง หรือหลายข้อความได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระบุเท่านั้น ทั้งนี้ การโฆษณาตามวรรคหนึ่ง หากมีข้อความอื่นที่เป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารร่วมอยู่ด้วย ต้องยื่นคาขออนุญาตโฆษณาอาหารพร้อมเอกสารประกอบ การพิจารณาการกล่าวอ้างข้อความโฆษณาทั้งหมด เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข